เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] มาติกา
[6] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน
ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับ)
[7] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับ ชื่อว่าวิปัสสนา-
ญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความดับ)
[8] ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่าอาทีนวญาณ
(ญาณที่คำนึงเห็นโทษ)
[9] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขา-
ญาณ (ญาณที่เป็นกลางต่อสังขาร)
[10] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
(ญาณครอบโคตร)
[11] ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก
ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค)
[12] ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ (ญาณในอริยผล)
[13] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติ-
ญาณ (ญาณในวิมุตติ)
[14] ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ
(ญาณในการพิจารณาทบทวน)
[15] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตตญาณ
(ญาณในวัตถุต่าง ๆ)
[16] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ
(ญาณในอารมณ์ต่าง ๆ)
[17] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ (ญาณในจริยาต่างๆ)
[18] ปัญญาในการกำหนดธรรม 4 ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ (ญาณใน
ภูมิต่าง ๆ)
[19] ปัญญาในการกำหนดธรรม 9 ประการ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ (ญาณ
ในธรรมต่าง ๆ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :2 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] มาติกา
[20] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้)
[21] ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา)
[22] ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ)
[23] ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว)
[24] ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง)
[25] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน
อรรถ)
[26] ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
[27] ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน
นิรุตติ)
[28] ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉาน
ในปฏิภาณ)
[29] ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง
วิหารธรรม)
[30] ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง
สมาบัติ)
[31] ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน
สภาวะแห่งวิหารสมาบัติ)
[32] ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ (ญาณในสมาธิตามลำดับ)
[33] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า
อรณวิหารญาณ (ญาณในอรณวิหาร)
[34] ปัญญาที่มีความชำนาญ ในการระงับสังขาร 3 ด้วยญาณจริยา 16
และด้วยสมาธิจริยา 9 เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ 2 อย่าง ชื่อว่า
นิโรธสมาปัตติญาณ (ญาณในนิโรธสมาบัติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :3 }